ฟูจิตสึจับมือกับธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ และธนาคารชั้นนำสร้างสังคมไร้เงินสดในประเทศไทย

  1. Challenges:
    • สร้างความพึงพอใจของลูกค้าและลดค่าใช้จ่ายด้วยการใช้ระบบชำระเงินด้วยตัวเองแบบไร้เงินสด
    • สร้างโอกาสทางธุรกิจ จากการริเริ่มใช้ระบบชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสดของภาครัฐ
    • สร้างความร่วมมือระหว่างธนาคาร ผู้ประกอบการและผู้ให้บริการเทคโนโลยี
  2. Results:
    • การดำเนินงานที่มีเสถียรภาพตั้งแต่เริ่มใช้งาน (เดอะมอลล์ กรุ๊ป / ธนาคารไทยพาณิชย์)
    • ทำให้การต่อแถวที่จุดจ่ายเงินสั้นลง (เดอะมอลล์ กรุ๊ป)
    • ลดแรงงานและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเงินสด (เดอะมอลล์ กรุ๊ป / ธนาคารไทยพาณิชย์)
    • หนึ่งในการนำพาประเทศไทยสู่สังคมไร้เงินสด (ธนาคารไทยพาณิชย์)

จากแรงผลักดันของรัฐบาลไทยที่มีเป้าหมายในการสร้างสังคมไร้เงินสด จึงทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และเดอะมอลล์กรุ๊ป (TMG) ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกรายชั้นนำ ซึ่งมีฐานอยู่ในกรุงเทพฯ เลือกใช้โซลูชั่น POS (Point-of-Sale) จากฟูจิตสึตั้งแต่เดือนกันยายน 2017 เพื่อสร้างการทำงานแบบอัตโนมัติ ซึ่งมีความยืดหยุ่น และไร้ซึ่งเงินสด แก้ปัญหาการขายตรงแบบยืดหยุ่นและไม่มีเงินสด ระบบใหม่นี้ช่วยเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้กับทั้งผู้ค้าปลีกและธนาคาร ความสำเร็จในธุรกิจค้าปลีกและวงการธนาคารไทย

ภูมิหลัง การเปลี่ยนผ่านประสบการณ์ธุรกิจการค้าปลีกไปสู่ดิจิทัล เพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ค้าและธนาคาร

สำหรับผู้บริโภคและผู้ค้าก็เช่นเดียวกัน จุดชำระเงินมักจะเป็นปัญหาจุกจิกมากที่สุดในการจับจ่ายซื้อของ ผู้ซื้อต้องรอคิวนาน ขณะที่ลูกค้าที่อยู่ก่อนหน้าวุ่นวายกับการจ่ายและรับเงินทอน ส่วนพนักงานแคชเชียร์ก็ต้องนับเงินสดที่ได้รับมาและพยายามสื่อสารกับนักท่องเที่ยวที่ไม่สามารถพูดภาษาท้องถิ่นได้ ในขณะเดียวกันพนักงานที่จะคอยช่วยเหลือลูกค้า ณ จุดชำระเงินก็มีจำนวนไม่เพียงพอเมื่อสิ้นสุดการทำงานในแต่ละวัน จะต้องมีรถหุ้มเกราะมารับเงินสดนั้นไปที่ธนาคารและต้องนับเงินที่นั่นอีกครั้ง ทำให้กระบวนการรับชำระเงินด้วยเงินสด กลายเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยีไร้เงินสดระบบใหม่ อย่างเช่นบัตรเครดิตที่ต้องยืนยันด้วยรหัส PIN และ QR Code บนสมาร์ทโฟน ได้เปิดประตูไปสู่นวัตกรรมที่จะเพิ่มความเร็วในการดำเนินการและไม่ต้องมีพนักงาน แต่การที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้งานได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ได้แก่ หน่วยกำกับดูแลของรัฐบาล ธนาคาร ผู้ค้า ผู้ให้บริการเทคโนโลยี ... และลูกค้า

การเป็นที่ยอมรับในความสำเร็จของการใช้แอพพลิเคชั่นชำระเงินด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้เงินสดในญี่ปุ่น และที่อื่น ๆ เดอะมอลล์ กรุ๊ป และธนาคารไทยพาณิชย์จึงได้จับมือกับฟุจิตสึเพื่อหาทางตอบโจทย์ความท้าทายดังกล่าว

กระบวนการ ดึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมกันเพื่อโซลูชั่นที่พัฒนาในประเทศไทย

หากเป็นในอดีต โครงการนี้อาจจะเป็นไปไม่ได้ เพราะข้อจำกัดด้านกฎระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย ขณะที่ลูกค้าเองก็ยังไม่พร้อม แต่ด้วย “แผนปฏิบัติการระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ” ของรัฐบาลไทย ได้เบิกทางสู่ PromptPay ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ ควบคู่กับการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตบนระบบที่คล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ PromptPay ยังก้าวต่อไปอีกขั้นหนึ่งโดยรวมฟังก์ชั่นของ QR Codeเข้าไปด้วย ซึ่งทำให้สามารถชำระเงินได้โดยตรงจากสมาร์ทโฟน

เมื่อยุคใหม่ได้เริ่มขึ้น ธนาคารไทยพาณิชย์ หนึ่งในธนาคารที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในประเทศไทย ได้มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในด้านนี้ แต่การที่จะพิสูจน์แนวคิดนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์จำเป็นต้องมีหุ้นส่วนผู้ค้าปลีกที่มีแนวคิดก้าวหน้า ซึ่งมีลูกค้าผู้ใช้สมาร์ทโฟนและถือบัตรอยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่มีความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง เดอะมอลล์ กรุ๊ป ผู้ประกอบธุรกิจซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำของไทยภายใต้ชื่อ Gourmet Market (ด้วยยอดเฉลี่ยการทำธุรกรรม 2 ล้านรายการต่อเดือน) จึงเป็นตัวเลือกที่ใช่ หลังจากผ่านกระบวนการคัดสรรอย่างรอบคอบ ทั้งธนาคารไทยพาณิชย์และเดอะมอลล์ กรุ๊ปต่างเห็นพ้องกันว่าฟูจิตสึนำเสนอเทคโนโลยีที่ดีที่สุด นั้นจึงทำให้กระบวนการทำงานร่วมกันของทั้ง 3 พันธมิตรของการร่วมกันสร้างสรรค์ก็ได้เริ่มต้นขึ้นในต้นปี ค.ศ. 2017

ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่สำคัญยิ่งของโครงการคือ หน้าจอการใช้นภาษาไทยเหนือชั้น แสดงตัวเขียนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ สะท้อนวัฒนธรรมอันเรียบร้อยของประเทศไทย ซึ่งฟูจิตสึเองก็คุ้นเคยกับการท้าทายด้านภาษาที่คล้ายคลึงกันในญี่ปุ่นอยู่แล้ว จึงตัดสินใจโดยไม่ลังเลเลยว่า ซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ต่างๆต้องได้รับการพัฒนาในประเทศไทย เพื่อลดต้นทุน ผลสรุปก็คือโซลูชั่นทั้งหมดผลิตขึ้นในประเทศไทย

เนื่องจากประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ ระบบจึงต้องยืดหยุ่นพอที่จะสนองตอบความจำเป็นด้านภาษา และความพึงพอใจในการชำระเงินของลูกค้าที่มีความหลากหลายได้ทั้งหมด

รวมทั้งชุดฟังก์ชั่นอื่นๆ ก็มีความจำเป็นตามมาด้วย อย่างเช่น การประทับตราบัตรจอดรถ การสมัครสมาชิก และคูปองส่วนลด ก็อีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ผู้ซื้อสนใจที่จะใช้ระบบนี้ จึงทำให้หน้าที่การทำงานเหล่านี้เป็นฟังก์ชั่นพื้นฐานของระบบ.

นอกจากนี้ โซลูชั่นใหม่ดังกล่าวจะต้องสามารถทำงานร่วมกับระบบ POS ของเดอะมอลล์ กรุ๊ปที่มีอยู่เดิมได้ด้วย

หัวใจสำคัญ ทำอย่างไรผู้ซื้อจึงจะลองใช้สิ่งที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน

เนื่องจาก Gourmet Market ของเดอะมอลล์ กรุ๊ป เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ซื้อวัยรุ่นซึ่งมีความชื่นชอบในเทคโนโลยีและให้ความสำคัญกับความรวดเร็ว จึงทำให้เป็นที่ที่เหมาะอย่างยิ่งในการเริ่มต้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในวงการค้าปลีกของไทย ขณะเดียวกันผู้ซื้อจำนวนมากในเดอะมอลล์ กรุ๊ปมีทั้งบัตรเครดิตและสมาร์ทโฟน รวมทั้งมีความคุ้นเคยและสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นใหม่ๆได้ไม่ยาก

อย่างไรก็ตาม ทั้งสามภาคส่วน ต่างก็ตระหนักดีว่า ต้องดำเนินการทุกแนวทางเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากลูกค้า ประการแรกการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกของอุปกรณ์ต้องน่าใช้ ประการที่สองคำแนะนำการใช้งานจะต้องง่ายต่อการทำความเข้าใจในทุกๆ ภาษา และประการที่สามคือ ต้องทำให้กระบวนการชำระเงินรวดเร็วขึ้น และมีการมอบส่วนลดที่น่าสนใจ

ช่วงทดสอบการใช้งานระบบในระยะแรก เดอะมอลล์ กรุ๊ปมอบข้อเสนอพิเศษที่ไม่อาจปฏิเสธได้แก่ผู้ใช้ระบบในช่วงแรก: ได้แก่ ชำระเงิน 500 บาทรับเงินคืน 100 บาท

โดยในช่วงแรก ต้องมีพนักงานอยู่ใกล้ ๆ เพื่อแสดงวิธีใช้ระบบให้ผู้ซื้อปฏิบัติตาม ดังที่ได้คาดการณ์ไว้ แต่เมื่อลูกค้าได้เรียนรู้วิธีใช้ระบบแล้ว ก็ไม่ค่อยจำเป็นที่จะต้อง “เข้าไปช่วย” มากนัก

ผลที่ได้รับกับมุมมองในอนาคต การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลเร่งให้เกิดความก้าวหน้าไปสู่สังคมไร้เงินสดในประเทศไทย

ตั้งแต่ที่ได้เปิดตัวระบบการชำระเงินแบบไร้เงินสดด้วยตัวเองเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน ค.ศ.2017 ที่ Gourmet Market ซุปเปอร์มาร์เตก็ตในเครือ ระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสเถียรภาพ ขณะนี้เดอะมอลล์ กรุ๊ปกำลังอยู่ระหว่างการขยายระบบดังกล่าวไปสู่สาขาอื่น ๆ ทั่วประเทศ

คุณชัยรัตน์ เพชรดากูล ผู้อำนวยการใหญ่บริหารสินค้าซุเปอร์มาร์เก็ตกล่าวว่าว่า “ระบบนี้ช่วยสร้างประสบการณ์การช๊อปปิ้งให้แก่ลูกค้าของเรา ภายในต้การสรางสรรค์ร่วมกับกับธนาคารไทยพาณิชย์และฟูจิตสึ เราไม่สามารถสร้างความสำเร็จนี้ได้โดยลำพัง เรามีความสุขมากเมื่อได้เห็นลูกค้าใช้ระบบชำระเงินแบบไร้เงินสดด้วยตัวเอง ในบรรดาผู้ให้บริการจำนวนมากที่ติดต่อกับเรา ฟูจิตสึเป็นเพียงรายเดียวที่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ออกมาจนสำเร็จได้ตามกำหนดการณ์ที่วางเอาไว้”

เดอะมอลล์ กรุ๊ปกำลังขยายขีดความสามารถในการทำงานของระบบ ด้วยการเสนอตัวเลือกด้านภาษาและการชำระเงินในขอบเขตกว้างขวางขึ้น เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ขณะนี้ระบบรองรับการรับชำระเงินด้วย WeChat และ Alipay ซึ่งเป็นวิธีการชำระเงินที่นิยมในประเทศจีน และดำเนินแผนการที่จะเพิ่มทางเลือกอื่นอีกในการชำระเงินแบบไร้เงินสดระดับโลก เช่น PayPal อีกด้วย

ปัจจุบัน เดอะมอลล์ กรุ๊ป จัดพนักงานแคชเชียร์ตามปกติไว้ 10 คน ควบคู่กับเครื่องชำระเงินด้วยตัวเอง 2 เครื่อง แต่ในอนาคต ทางบริษัทคาดว่าอัตราส่วนนั้นจะกลับตรงกันข้าม และทั้งเดอะมอลล์ กรุ๊ปกับธนาคารไทยพาณิชย์คาดการณ์ว่า แนวโน้มนั้นจะขยายตัวขึ้นเนื่องจากระบบที่เดอะมอลล์ กรุ๊ปบุกเบิกขึ้นได้จุดประกายให้แก่แวดวงธุรกิจของไทยอย่างกว้างขวาง สำหรับธุรกิจการธนาคารและภาครัฐ นี่เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยกำลังก้าวปสู่สังคมไร้เงินสดอย่างมั่นคง

ธนาคารไทยพาณิชย์พอใจกับผลลัพทธ์ที่เกิดขึ้นเช่นกัน คุณสีหนาท ล่ำซำ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสาย Payments Product Development and Solutions กล่าวว่า “ความสำเร็จของโครงการที่ร่วมกันสร้างขึ้นมานี้ เป็นผลจากความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่ฟูจิตสึสั่งสมมานานหลายปีในประเทศไทย เราหวังที่จะทำงานร่วมกับฟูจิตสึต่อไป เพื่อสร้างสังคมไร้เงินสดให้เป็นจริงในประเทศของเรา”

ข้อมูลลูกค้า

ธนาคารไทยพาณิชย์
เดอะมอลล์ กรุ๊ป

ธุรกิจ: : ธนาคารไทยพาณิชย์, การธนาคาร; เดอะมอลล์ กรุ๊ป, ธุรกิจค้าปลีก
ก่อตั้งเมื่อ: ธนาคารไทยพาณิชย์, 1904
เดอะมอลล์ กรุ๊ป, 1981
เว็บไซต์: ธนาคารไทยพาณิชย์: https://scb.co.th/en/personal-banking.html
เดอะมอลล์ กรุ๊ป: https://themallgroup.com/

ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นธนาคารพาณิชย์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย และในปัจจุบันเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ (ในด้านของยอดรวมสินทรัพย์ เงินฝากและเงินกู้) มีพนักงาน 27,000 คน
เดอะมอลล์ กรุ๊ปมีฐานอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นบริษัทในเครือของบริษัท ลูกรักศุภชัย จำกัด ถือเป็นหนึ่งในศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่สุดของไทย มีพนักงาน 13,000 คน

Top of Page