Skip to main content

Fujitsu

English

Thailand

Archived content

NOTE: this is an archived page and the content is likely to be out of date.

การนำเสนอคุณค่าใหม่ที่ได้จากนวัตกรรมดิจิตอลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว IoT และการวิเคราะห์ข้อมูลสู่สังคม

นวัตกรรมดิจิตอลที่กำลังเป็นที่จับตามอง เนื้อหาที่ Alfee Lee ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมดิจิตอลท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ได้บรรยายในงาน Fujitsu World Tour 2017 Asia Conference in Manila ที่จัดขึ้นที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในเดือนกันยายน ได้อธิบายให้ทราบถึงความสำคัญของนวัตกรรมดิจิตอลและตัวอย่างการประยุกต์ใช้จริง

แนวโน้มสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจมีการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องก็คือนวัตกรรมดิจิตอล ที่บริษัทของทุกๆ ท่านอาจจะมีการใช้งานออนไลน์แอปพลิเคชั่นอยู่แล้ว และอาจจะมีการทำออนไลน์มาร์เก็ตติ้งแคมเปญ หรือออนไลน์เซอร์วิสของห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ด้วยเช่นกัน
แต่สิ่งที่เรียกว่าธุรกิจดิจิตอลที่มุ่งหน้าไปสู่นวัตกรรมดิจิตอลนั้น ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการใช้แอปพลิเคชั่นในการทำงานเพียงอย่างเดียว แต่มีเป้าหมายสูงสุดคือการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานไปพร้อมๆ กับนำเสนอคุณค่าใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้า เปิดตลาดใหม่ และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าปัจจุบันให้สูงขึ้น

ความคืบหน้าของนวัตกรรมดิจิตอลในสาขาต่างๆ เช่น โลจิสติกส์ เฮลธ์แคร์ เป็นต้น

มาลองดูตัวอย่างการใช้งานธุรกิจดิจิตอลในหลายๆ กรณีกัน
บะหมี่สำเร็จรูปยี่ห้อหนึ่งได้ดำเนินการเปลี่ยนระบบโลจิสติกส์ของบริษัทตนเองที่เวียดนาม การเปลี่ยนแปลงในระลอกแรกได้ตั้งเป้าหมายที่จะปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับงานและเพิ่มยอดขายให้ได้ 2 เท่า และเพื่อจะเพิ่มยอดขายให้ได้เป็น 2 เท่า จึงได้มีการเพิ่มต้นทุนในด้านต่างๆ เช่น การเพิ่มพื้นที่เก็บสินค้าเป็น 2 เท่า และ เพิ่มทรัพยากรอื่นๆ เป็น 2 เท่า แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ในเรื่องของประสิทธิภาพการขนส่ง เดิมทีต้องพึ่งพาผู้ประกอบการขนส่งในท้องถิ่น และทำการขนส่งไปทั่วประเทศจากสำนักงานที่มีอยู่ 7 แห่ง และการขนส่งนั้นก็ไม่ได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพื่อพิจารณาถึงมาตรการที่จะใช้ในการแก้ปัญหานี้จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเส้นทางการขนส่งจำนวนมากให้มีศูนย์กลางการขนส่งเพียงแห่งเดียว ในกรณีนี้


ทางฟูจิตสึได้นำเสนอหนทางการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมาปรับทรัพยากรและพื้นที่เก็บสินค้าให้มีความเหมาะสมมากขึ้นแทน กล่าวคือทำการสร้างระบบข้อมูลการขนส่งที่ใช้ร่วมกันโดยรวบรวมข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่ผู้ประกอบการขนส่งในพื้นที่ไปจนถึงตัวรถที่ใช้บรรทุกสินค้าหรือข้อมูลการขนส่ง เป็นต้น ได้ใช้ระบบนี้ในการวางแผนการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมสถานการณ์ขนส่งได้แบบเรียลไทม์ และสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
กรณีตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งคือการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบการโลจิสติกส์ โดยได้มีการสร้างระบบการขนส่งสินค้าให้แก่บริษัทตนเองโดยบริษัทเดียวกันนี้ ในการดำเนินงานนี้ มีหัวข้อที่สำคัญมากคือการดูแลเรื่องความปลอดภัยให้แก่พนักงานขับรถ และบริษัทนี้ก็ได้มีการจัดทำมาตรการป้องกันพนักงานขับรถเกิดความง่วงนอนในขณะปฏิบัติงาน
กล่าวคือ

มีการติดเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวของพนักงานขับรถและหากเซ็นเซอร์ประเมินว่าพนักงานขับรถมีอาการง่วงนอน ระบบก็จะส่งเสียงเตือนเจ้าตัว ในขณะเดียวกันทางฝั่งเซ็นเตอร์ก็จะรวบรวมข้อมูลว่าพนักงานขับรถได้ขับรถต่อเนื่องกี่ชั่วโมงแล้ว เซ็นเตอร์จะติดต่อกับพนักงานขับรถตามสถานะของพนักงานขับรถแล้วจึงตรวจสอบสภาพร่างกายหรือทำการเปลี่ยนตัวพนักงานขับรถ
นวัตกรรมดิจิตอลถูกนำมาใช้ในหลากหลายสาขา ทางด้านเฮลธ์แคร์ ก็ได้มีการนำเสนอการใช้การแก้ไขปัญหาด้วยการตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อเป็นมาตรการในการดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของบริษัทหนึ่งที่ทำการตรวจติดตามการผลิตหรือปริมาณการใช้พลังงาน รวบรวมเป็นข้อมูลในแต่ละช่วงเวลา ทำข้อมูลออกมาให้เห็นภาพ แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

ประเด็นใหญ่ที่สุดในการพัฒนานวัตกรรมคือเรื่องทรัพยากรมนุษย์และต้นทุน

รูปที่ 1 การสำรวจความตระหนักของ CIO การพัฒนานวัตกรรมดิจิตอลผ่านแนวคิดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) และประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) โดยไม่เพิ่มต้นทุน

จากการสำรวจที่ทางฟูจิตสึได้จัดทำขึ้นในค.ศ. 2017 โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่ม CEO(ผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กร)ทำให้ทราบว่า CEO จำนวนมากได้พิจารณาว่าท่ามกลางการพัฒนาในด้านนวัตกรรมดิจิตอล สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญก็คือทรัพยากรบุคคล นวัตกรรมไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่การเสาะหาทรัพยากรบุคคลที่มีทักษะที่เหมาะสมในการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นก็จะเชื่อมโยงต่อการเติบโตของบริษัทด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ CIO(ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง)ที่ถูกคาดหวังให้ทำหน้าที่พัฒนานวัตกรรมดิจิตอลนั้น ก็ต้องเข้าถึงลูกค้าและนำเสนอคุณค่าใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้าผ่านนวัตกรรมดิจิตอล เพื่อขยายธุรกิจให้เติบโตมากยิ่งขึ้น แต่ทว่างบประมาณด้าน IT ที่รองรับในส่วนนี้กลับเพิ่มขึ้นไม่เกิน 5〜10% จากเดิมเท่านั้น และในบางกรณีก็อาจถูกลดงบประมาณลงด้วยซ้ำ กล่าวคือ เป็นการคาดหวังให้ธุรกิจหรือตลาดเติบโตขึ้นด้วยต้นทุนจำนวนน้อยนั่นเอง

กุญแจสำคัญคือการเชื่อมโยง “คน” และกระตุ้นให้เกิด “การสร้างความร่วมมือ”

ในการเข้าถึงลูกค้าและนำเสนอคุณค่าใหม่ๆ นั้น จำเป็นต้องจับกระแสของผู้คนและสิ่งของให้ได้ และหาประเด็นที่ซุกซ่อนอยู่ในนั้นออกมา ยิ่งไปกว่านั้นเรายังต้องนำภูมิปัญญาของผู้คนที่หลากหลายมารวมกัน ผสานเข้าด้วยกัน และสร้างเป็นกระบวนการทางธุรกิจแบบใหม่ขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ทางฟูจิตสึจึงได้คิดค้นแนวทางที่เรียกว่า “นวัตกรรมดิจิตอลที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง” ขึ้นมา กล่าวคือมีการใช้ IoT ในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่หลากหลาย ทำการวิเคราะห์ Big Data และแปลงออกมาเป็นภาพ เพื่อนำมาใช้สนับสนุนพฤติกรรมของมนุษย์ นอกจากนี้ข้อมูลนี้ยังสามารถเผยแพร่ผ่านทางคลาวด์ได้อีกด้วย ทำให้ช่วยกระตุ้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นได้
ด้วยชุดกระบวนการการแก้ไขปัญหานี้ จะช่วยเชื่อมโยงผู้คนและแก้ไขประเด็นปัญหาต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน นี่ก็คือสิ่งที่เรียกว่า Digital Co-creation

มากำหนดจุดมุ่งหมายของการเดินทางไปสู่การปรับเปลี่ยนเป็นดิจิตอลกันเถอะ

ผู้ที่ประสบความสำเร็จทางด้านนวัตกรรมดิจิตอล ล้วนสามารถตัดห่วงโซ่อุปทานเก่าๆ ออก และทำลายรูปแบบธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบันด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพและการลด “ความสูญเปล่า” ที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน จากการสำรวจที่กล่าวถึงในข้างต้นพบว่าผู้บริหารกว่า 71% รู้สึกถึงอันตรายและความจำเป็นที่จะต้องมีการสร้างนวัตกรรมออกมาให้ทันท่วงทีมากยิ่งขึ้น และการที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว การปฏิรูปภายในบริษัทก็ถือเป็นสิ่งจำเป็น การเตรียมแผนก Digital Transformation ไว้หรือการจ้างงาน CDO(ผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบด้านการปรับเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล)ก็ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งเช่นกัน ภายใต้การกำกับดูแลของ CDO ก็จะมีการสร้างระบบที่จะระบุแนวทางของ “Digital Journey(การเดินทางไปสู่การปรับเปลี่ยนเป็นดิจิตอล)” ที่ทุกคนในบริษัทพึงพอใจขึ้น และทำการพัฒนาระบบนี้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ก็มีกรณีที่ฝ่าย IT ตกอยู่ภายใต้ความกดดันที่จะต้องลดต้นทุน แต่ฝ่ายธุรกิจกลับมีงบประมาณเหลือเฟือด้วยไม่ใช่หรือ หากทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมายร่วมกันและร่วมมือกัน ก็จะทำให้สามารถใช้งบประมาณการลงทุนด้าน IT ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและด้วยการนำลูกค้าและคู่ค้าเข้ามาร่วมด้วย ก็จะทำให้สามารถพัฒนานวัตกรรมดิจิตอลได้มากยิ่งขึ้น

ก้าวแรกคือ “การเชื่อมโยง”

ที่ฟูจิตสึได้มีการพิจารณาขั้นตอนของนวัตกรรมดิจิตอลไว้มากมาย อาจกล่าวได้ว่าเป็นขั้นตอนในเรื่องของการใช้งาน ICT ได้อย่างสมบูรณ์ หากเป็นนวัตกรรมดิจิตอลที่โรงงานจะมีการดำเนินการ 5 ขั้นดังต่อไปนี้

  • ขั้นที่1:เชื่อมโยงผู้คนและสิ่งของด้วยเครือข่าย เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์แบบเรียลไทม์
  • ขั้นที่2:วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ แสดงสภาพความเปลี่ยนแปลงออกมาเป็นภาพ
  • ขั้นที่3:ออโตเมชั่น(การควบคุมระยะไกล)
  • ขั้นที่4:การเพิ่มประสิทธิภาพ(เมื่อมีข้อมูลก็จะเข้าใจจุดที่ต้องปรับปรุง)
  • ขั้นที่5:ใช้ AI สร้างระบบอัตโนมัติประสิทธิภาพสูงที่สามารถทำงานที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ขึ้นมา

ฟูจิตสึจะทำการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโดยประสานเข้ากับขั้นตอนในแต่ละขั้น

Figure 2 Digital business maturity levels 1 through 5 (AI)

icon-formติดต่อ

เราต้องการความคิดเห็นจากคุณ.