Skip to main content

Fujitsu

English

Thailand

Archived content

NOTE: this is an archived page and the content is likely to be out of date.

ก้าวแรกที่สำคัญในการทำดิจิทัล (Digital Transformation) คือการเปลี่ยนความคิดของพนักงานและวัฒนธรรมองค์กร

main-kv-yamane

ในปัจจุบันมีบริษัทจำนวนมากที่เริ่มผลักดันเรื่องการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลโดยการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ประโยชน์ เช่น อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT), คลาวด์, การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อพัฒนากระบวนการทำธุรกิจและสร้างแบบจำลองทางธุรกิจใหม่ๆ อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพียงอย่างเดียว กุญแจสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการทำให้พนักงานพร้อมใจกันเรียนรู้ทักษะซึ่งจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีดิจิทัลและเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ ในกรณีส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานด้านการคิดวิเคราะห์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ และวันนี้เราจะพูดถึงประเด็นสำคัญบางประเด็นเกี่ยวกับนวัตกรรมรูปแบบการทำงาน ซึ่งมีการอภิปรายในงาน "Fujitsu World Tour Asia Conference 2017 in Bangkok" ที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ ประเทศไทย เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2017

*หัวข้อของการอภิปรายคือ "นวัตกรรมรูปแบบการทำงาน เราพร้อมแล้วหรือยัง?" ผู้ดำเนินรายการคือคุณจาริตร์ สิทธุ ผู้บริหารไอดีซีประจำประเทศไทย ผู้ร่วมอภิปราย ได้แก่ ดร.จอห์น มิลลาร์ ประธานเจ้าหน้าที่ สายงานพัฒนากลยุทธ์ของบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้พัฒนารายใหญ่, คุณทวีสุข สายะศิลปี ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), คุณอิฑยา ศิริวสุกาญจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทรี ดิจิตอล จำกัด กลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง และคุณทาคาฮิโระ เนโมโตะ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการจัดการกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตของสถาบันวิจัยฟูจิตสึ (Fujitsu Research Institute)

การที่บริษัทจะประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างต่อเนื่องจะต้องมีนวัตกรรมและการสร้างมูลค่าใหม่ให้กับลูกค้าของตนเอง เมื่อตลาดและลูกค้าเปลี่ยนไป บริษัทต่างๆ ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนแบบจำลองทางธุรกิจและโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ ดร.มิลลาร์ จากบริษัทอนันดา ชี้ให้เห็นว่า 40% ของบริษัทที่อยู่ในรายชื่อบริษัทตามการจัดอันดับของ Fortune 500 ในปี 2000 นั้นไม่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ยิ่งเป็นการเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของนวัตกรรม นอกจากนี้คุณทวีสุข จากบริษัท ปตท. ยังกล่าวว่า "เราจำเป็นต้องเปลี่ยนฟันเฟืองในการมุ่งสู่อนาคตด้วยการสร้างธุรกิจใหม่ๆ และทำให้เกิดความหลากหลาย”

กุญแจสำคัญในการปลูกฝังนวัตกรรมและผลักดันการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลก็คือการเข้าใจว่าจะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างไรและที่ไหน นี่เองคือที่ที่ "คน" มีความสำคัญ แม้ว่าเทคโนโลยีจะดีขึ้น แต่ถ้าไม่มีใครที่มีทักษะในการสร้างแบบจำลองทางธุรกิจใหม่ๆ ก็ไม่สามารถนำนวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอดได้ คุณทวีสุข จากบริษัท ปตท. ได้หยิบยกประเด็นเรื่องความเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง การปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กร และการฝึกอบรมพนักงานมากล่าว พนักงานต้องเรียนรู้ที่จะแสวงหาความท้าทายใหม่ๆ ในเชิงรุก เขาอธิบายว่าที่บริษัท ปตท. "เรากำลังดำเนินโครงการ "Digital Transformation Program (โครงการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล)" เพื่อปลูกฝังให้พนักงานทุกคนมีวิสัยทัศน์ในการคิดใหม่ๆ เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจของเราดีขึ้น" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันเป้าหมายดังกล่าว

คุณอิฑยา ศิริวสุกาญจน์ ซึ่งปัจจุบันกำลังเดินหน้าผลักดันการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลภายในโรงงานได้อธิบายถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงองค์กรและการฝึกอบรมพนักงานว่า “เราสร้างเป้าหมายที่ชัดเจน และนำมาทดลองใช้จริงเป็นระยะเวลาหนึ่งปี และจากการปฏิบัติซ้ำๆ เราก็เริ่มเข้าใจความหมายของการทำงานกับเทคโนโลยีดิจิทัลในฐานะที่เป็นกลุ่มบริษัท”

ดร.มิลลาร์ จากบริษัทอนันดา ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการทำให้แน่ใจว่าแนวคิดใหม่ๆ จะไม่ถูกปฏิเสธจากเพื่อนร่วมงาน และจะไม่มีการลงโทษสำหรับความผิดพลาด เพราะเราจะไม่สามารถปลูกฝังเรื่องนวัตกรรมได้หากพนักงานกลัวความผิดพลาด

การประเมินผลงานและความก้าวหน้า รวมถึงแพลตฟอร์มสำหรับการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างรวดเร็วและตรงกันเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

เพื่อที่จะปฏิรูปรูปแบบการทำงาน และในขณะเดียวกันก็เห็นถึงความสำคัญของการปลูกฝังเรื่องนวัตกรรม บริษัทจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการประเมินงานและผลการทำงานในการประเมินผลการทำงานนอกเหนือจากกฎเกณฑ์ของบริษัท และวิธีการคิดของพนักงาน หนึ่งในตัวอย่างก็คือการเข้าถึงเครือข่ายจากระยะไกลเพื่อการสื่อสารโทรคมนาคม และวิธีการจัดการชั่วโมงการทำงาน รวมถึงความคืบหน้าในระบบดังกล่าว

แพลตฟอร์มการสื่อสารเพื่ออำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลระหว่างสมาชิกในทีมก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ตัวอย่างเช่น บริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากสร้างชุมชนนวัตกรรมหรือกลุ่มทำงาน กลุ่มเหล่านี้มักประกอบด้วยสมาชิกจากแผนกที่แตกต่างกันในแต่ละโครงการ ดังนั้นวิธีการแบ่งปันข้อมูลที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญ พวกเขาต้องการการสื่อสารร่วมกันและแบ่งปันไฟล์ร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประชุมและในที่ทำงาน ยกตัวอย่างเช่น บริษัทฟูจิตสึมีพนักงาน 16,000 คนทั่วโลกที่มีแพลตฟอร์มการสื่อสารระดับโลก

จากมุมมองด้านการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมบริษัท ระบบกระบวนการทำงานอัตโนมัติโดยหุ่นยนต์ (RPA: Robotic Process Automation) และระบบหุ่นยนต์อื่นๆ มีประสิทธิภาพ ในสภาพแวดล้อมการทำงาน เช่น โรงงานและคลังสินค้า หุ่นยนต์สามารถแทนที่กำลังคนในการปฏิบัติงาน หรือสามารถร่วมมือกับผู้คนเพื่อสนับสนุนงานเหล่านี้ได้ นอกจากนี้การนำ RPA มาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเสมียนได้โดยอัตโนมัติ ด้วยการให้พวกมันจดจำขั้นตอนงานต่างๆ ก็เป็นเรื่องปกติเช่นกัน

ประสิทธิภาพในการทำงานสามารถเพิ่มขึ้นได้ด้วยวิธีการเหล่านี้ ซึ่งทำให้เหลือเวลาสำหรับการมีส่วนร่วมธุรกิจใหม่ๆ และการอภิปรายซึ่งจะนำไปสู่นวัตกรรมขั้นสูงกว่าต่อไป

สิ่งสำคัญก็คือการไม่เพียงนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้งานเท่านั้น แต่จะต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่สามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อปลูกฝังนวัตกรรม และเพื่อออกแบบแผนปฏิบัติการตามวิสัยทัศน์นั้น นอกเหนือจากการพัฒนาวิสัยทัศน์และแผนปฏิบัติการเหล่านี้ผ่านการฝึกอบรมแล้ว การปล่อยให้พนักงานและพันธมิตรสามารถซึมซับสิ่งเหล่านี้ก็เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการจะทำเช่นนี้ได้ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วยเช่นกัน ซึ่งหากทำได้ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มความคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมที่พนักงานมีต่อบริษัท และทำให้พวกเขามีความมุ่งมั่นมากขึ้น รวมถึงเป็นการนำพันธมิตรจากภายนอกบริษัทเข้ามาร่วมสร้างมูลค่าใหม่ๆ และสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น

icon-formContact

We want to hear from you.