บริษัทในประเทศไทยเริ่มนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในหลายอุตสาหกรรมพร้อมแผนในการขยายการเปลี่ยนแปลง
ลูกค้ารายสำคัญของฟูจิตสึในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และการผลิตอาหาร การชำระเงินในธุรกิจค้าปลีก และยานยนต์ไฟฟ้า กล่าวว่า โครงการด้านนวัตกรรมจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานและการให้บริการลูกค้า
บริษัทในประเทศไทยได้มีโครงการเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้หรือ Digital Transformation หลายโครงการ เช่น/ โรงงานที่เชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นแห่งแรกของประเทศไทย การให้บริการชำระเงินแบบไร้เงินสดในกรุงเทพฯ และแอปพลิเคชั่นจัดการแบตเตอรี่บนคลาวด์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถลอยน้ำได้
ในปัจจุบัน บริษัทเหล่านี้กำลังร่วมมือกับฟูจิตสึ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ระดับโลก ในการวางแผนที่จะต่อยอดโครงการของพวกเขาไปยังพื้นที่อื่นๆ และนำเทคโนโลยีไปใช้ในด้านอื่นๆ เพิ่มเติม/ ฟูจิตสึได้นำตัวแทนของบริษัทต่างๆ มารวมตัวกันที่งานฟูจิตสึเวิลด์ทัวร์ 2018 เอเชีย คอนเฟอเรนซ์ แบงค็อก (Fujitsu World Tour 2018 Asia Conference Bangkok) เพื่อหารือกันถึงสถานะของโครงการและขั้นตอนต่อไปในเส้นทางการก้าวไปสู่การเป็นบริษัทดิจิทัล

เชื่อมโยงทุกพื้นที่เข้าหากัน
Alfred Lim Ong ผู้จัดการฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานสากลและสถาปัตยกรรม ในโครงการของ INSEE Digital ซึ่งเป็นบริษัทด้าน IT ของปูนซีเมนต์นครหลวง กล่าวว่า เมื่อครั้งที่บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง (Siam City Cement Co., หรือ SCCC) กำลังสร้างโรงงานที่เชื่อมโยงถึงกันในประเทศไทยโดยใช้เทคโนโลยีโรงงานอัจฉริยะของฟูจิตสึเป็นตัวช่วย SCCC จำเป็นต้องสร้างเครือข่าย Wi-Fi บนพื้นที่โรงงานขนาด 20 สนามฟุตบอล ซึ่งนั่นรวมถึงการต้องเชื่อมต่อข้ามพื้นที่ภูมิประเทศเขตร้อนที่มีระดับสูงต่ำไม่เท่ากันด้วย
“มันเป็นความท้าทายครั้งใหญ่” เขากล่าว “มีสะพานที่แคบมากอยู่สะพานหนึ่ง และเราได้สั่งให้วิศวกรของฟูจิตสึ และ Cisco ไปที่สะพานนั้นและลองข้ามสะพานดู/ พวกเขากลัวกันมากที่จะข้ามสะพานเพราะเวลาที่ลมพัดมา สะพานจะแกว่งไปมา แต่ตรงนั้นมีอุปกรณ์สำหรับความปลอดภัยและเจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านความปลอดภัยของเราก็อยู่ที่นั่น”

Alfred Lim Ong ผู้จัดการฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานสากลและสถาปัตยกรรม
ในโครงการของของบริษัท INSEE Digital ซึ่งเป็นบริษัทด้าน IT ของปูนซีเมนต์นครหลวง
วิศวกรได้ติดตั้งเครือข่ายทุกหนทุกแห่ง (Pervasive Network) จนแล้วเสร็จ โดยเครือข่ายดังกล่าวเชื่อมโยงระหว่างการปฏิบัติงานหลายๆ อย่างของโรงงานเข้าด้วยกัน รวมถึงศูนย์ปฏิบัติการจากระยะไกล (Remote Operation Center: ROC) / การใช้เทคโนโลยีของฟูจิตสึทำให้ ROC ทำหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการของโรงงานอัจฉริยะ ซึ่งทำให้ผู้จัดการอาวุโสและวิศวกรสามารถตรวจติดตามเครื่องจักรและข้อมูลสำคัญๆ ของโรงงานทั้งหมดได้ และนำเครื่องจักรและข้อมูลไปเชื่อมโยงกับพนักงานและผู้รับเหมาทั้งภายในและภายนอกโรงงาน นอกจากนี้ ฟูจิตสึยังให้บริการระบบจัดการผู้รับเหมาที่ผูกกับ ROC ด้วย
“Ong กล่าวว่า “ธุรกิจภาคการผลิตมีความต้องการที่จะทำให้การปฏิบัติงานต่างๆ กลายเป็นดิจิทัล ในการที่จะทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น พวกเขาต้องการลดระยะเวลาหยุดทำงานของเครื่องจักร (downtime) ให้เหลือน้อยที่สุด”
SCCC ได้เปิดตัวโรงงานอัจฉริยะที่มีการเชื่อมต่อกันในเดือนมกราคม 2018 และคาดการณ์ว่าประสิทธิภาพโดยรวมของอุปกรณ์ (overall equipment efficiency: OEE) จะเพิ่มขึ้น 2% และค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์จะลดลง 10% หลังจากเริ่มใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
“Ong กล่าวเสริมอีกว่า “นอกจากนี้ เรายังมีโรงงานปูนซีเมนต์ในเวียดนาม ศรีลังกา และกัมพูชาด้วย และเราก็กำลังวางแผนที่จะขยาย Pervasive Network และการทำงาน (ดิจิทัล) อื่นๆ ไปยังประเทศเหล่านั้นด้วย”
ลดเวลาการรอคิว
ลูกค้าของธนาคารไทยพาณิชย์ หนึ่งในสถาบันการเงินที่ใหญ่และก้าวหน้าที่สุดของประเทศไทย และเดอะมอลล์กรุ๊ป เจ้าของเชน Gourmet Supermarket ชั้นนำของประเทศไทย ต้องการที่จะเริ่มให้บริการการชำระเงินแบบไร้เงินสดสำหรับลูกค้าชั้นสูงและชำนาญในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งมักจะเร่งรีบอยู่เสมอๆ
ธนาคารไทยพาณิชย์และเดอะมอลล์กรุ๊ปเลือกให้ฟูจิตสึเป็นผู้พัฒนาโซลูชั่นระบบขายหน้าร้านไร้เงินสดที่ทำงานอัตโนมัติและยืดหยุ่น และโครงการการประสานความร่วมมือกันก็เริ่มให้บริการเมื่อเดือนกันยายน ปี 2017 ที่ห้างสาขาหลักของเดอะมอลล์กรุ๊ปในกรุงเทพฯ
เครื่องรับชำระเงินแบบไร้เงินสดด้วยตนเองจะต้องใช้งานง่ายและออกแบบมาสำหรับผู้บริโภคชาวไทยโดยเฉพาะ นี่คือเหตุผลที่ซอฟต์แวร์ของระบบถูกพัฒนาขึ้นในประเทศไทยเพื่อเป็นการลดปัญหาทางด้านภาษา/ ส่วนฮาร์ดแวร์ก็ถูกผลิตในไทยเช่นเดียวกันเพื่อลดต้นทุน
ฟูจิตสึกล่าวว่า ลูกค้าสามารถชำระเงินด้วยบัตรเดบิตที่ใช้ PIN ในการตรวจสอบตัวตน หรือใช้แอปพลิเคชั่นอ่าน QR Code ในสมาร์ตโฟนของพวกเขา/ เท่าที่ผ่านมาลูกค้าก็ให้การตอบรับเป็นอย่างดี จำนวนการทำรายการผ่าน QR Code ของธนาคารไทยพาณิชย์เพิ่มขึ้น และการบริการดังกล่าวทำให้คิวคิดเงินที่เดอะมอลล์กรุ๊ปสั้นลง รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานและการจัดการเงินสดทั้งในส่วนของห้างและธนาคาร
เดอะมอลล์กรุ๊ปซึ่งมียอดการทำรายการโดยเฉลี่ยทั้งหมดรวมรายการที่ชำระด้วยเงินสดถึง 2 ล้านรายการต่อเดือนใน Gourmet Supermarket กำลังอยู่ในขั้นตอนเริ่มให้บริการการชำระเงินโดยไม่ใช้เงินสดในสาขาต่างๆ ทั่วประเทศ
Sheau Yan Khong ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมดิจิทัลของฟูจิตสึในประเทศไทยกล่าวว่า โปรเจ็กต์นี้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลไทยที่สนับสนุนการจ่ายเงินโดยไม่ใช้เงินสด และธนาคารไทยพาณิชย์ก็ได้นำโครงการที่ใช้เทคโนโลยีของฟูจิตสึไปใช้ในห้างสรรพสินค้า 15 แห่ง โดยมีเครื่องรับชำระเงินด้วยตนเองประมาณ 30 เครื่อง

ของฟูจิตสึในประเทศไทย
“สิ่งนี้ช่วยให้เดอะมอลล์กรุ๊ปลดเวลาการรอคิวใน Gourmet Supermarket และยังพัฒนาประสบการณ์ลูกค้า รวมถึงช่วยให้ธนาคารไทยพาณิชย์พัฒนาประสบการณ์ลูกค้าของธนาคารและขยายช่องทางการทำธุรกิจด้วย” เธอกล่าว
รถยนต์ไฟฟ้าลอยน้ำได้
Hideo Tsurumaki ประธานและ CEO ของ FOMM Corp. ยอมรับว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่บริษัทสตาร์ตอัพของเขาวางแผนที่จะผลิตในประเทศไทยโดยเริ่มตั้งแต่ต้นปีหน้าจะมีขนาดเล็กมาก แต่เขากล่าวว่า รถจะมีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ได้ 4 คนหากไม่มีการนำเบาะหลังไปใช้วางสัมภาระ
Tsurumaki กล่าวอีกว่า หนึ่งในแรงบันดาลใจในการสร้างรถคันนี้คือการผลิตยานพาหนะที่สามารถลอยได้จริงๆ และสามารถขับเคลื่อนในน้ำได้
“สาเหตุที่ทำให้ผมพัฒนารถนี้ขึ้นมาคือ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่แนวชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011” เขากล่าวว่า “ในภัยพิบัติครั้งนั้น ผู้คนใช้รถในการหนีจากสึนามิ แต่พวกเขาก็เจอกับรถติดและถูกกลืนกินโดยคลื่นสึนามิ มีคนจำนวนมากเสียชีวิตที่นั่น ผมก็เลยคิดค้นรถ EV ลอยน้ำได้ขึ้นมา และตั้งบริษัทเพื่อส่งมอบรถดังกล่าว”

Hideo Tsurumaki, ประธานและ
CEO ของ FOMM Corp.
ในบรรดาวัตถุประสงค์หลักของบริษัทสามข้อคือ การให้บริการยานพาหนะในรูปแบบใหม่ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับแบตเตอรี่ของรถและข้อมูลอื่นๆ ที่เก็บไว้บนคลาวด์ นี่คือสิ่งที่ฟูจิตสึพัฒนาร่วมกับบริษัท FOMM Corp.
Tsurumaki อธิบายว่าแอปพลิเคชั่นสมาร์ตโฟนของ FOMM เป็นบริการ “แบตเตอรี่บนคลาวด์” ที่จะช่วยให้ผู้ใช้รถสามารถบริหารจัดการอายุแบตเตอรี่ของรถได้โดยแอปจะส่งข้อมูลอย่างละเอียด เช่น จำนวนไมล์ที่ผู้ใช้สามารถขับรถได้ก่อนแบตเตอรี่จะหมด และแผนที่ที่ระบุตำแหน่งสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ พร้อมเงื่อนไขว่าที่สถานีมีแบตเตอรี่แบบไหนขายบ้าง นอกจากนี้ แอปยังจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถจองคิวเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ โดยฟูจิตสึเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาแอปและบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทย

Tsurumaki กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวทางในอนาคต ตอนนี้บริษัทกำลังหารือกับพันธมิตรที่พัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับเพื่อทำให้รถไฟฟ้าของ FOMM กลายเป็นรถไร้คนขับ และอาจจะมีแอปพลิเคชั่นเมืองอัจฉริยะที่แสดงให้เห็นว่าจะสามารถแชร์รถกับใครได้บ้าง
สร้างโดเมนดิจิทัล
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด หรือ CPF ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีกและอาหารสัตว์ชั้นนำระดับโลกได้ตั้ง “โดเมนดิจิทัล” ขึ้นมา 6 แห่งเพื่อจะดำเนินการปฏิรูปกระบวนการต่างๆ ให้เป็นดิจิทัลต่อไป ศักดิ์ชัย บัวมูล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสของ CPF กล่าว โดยโดเมนดังกล่าวมีที่สำนักงานดิจิทัล หุ่นยนต์ การทำให้กระบวนการการผลิตเป็นอัตโนมัติ และการวิเคราะห์ข้อมูล
โปรเจ็กต์ที่ทำร่วมกับฟูจิตสึเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและบำรุงรักษาทางดิจิทัลที่ให้การสนับสนุนสำนักงานดิจิทัล รวมถึงการทำให้โรงงานกลายเป็นระบบอัตโนมัติด้วย งานของฟูจิตสึจะเป็นแนวทางสำหรับโครงการต่างๆ ในอนาคต ซึ่งอาจจะรวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย เขากล่าว
“เมื่อเราดูการทำงานของเรา ดูเหมือนว่าในตอนนี้ ต้นทุนด้านการผลิตสูงขึ้นทุกวันๆ” ศักดิ์ชัยกล่าว “อีกทั้งเมื่อเรานำสินค้าของเราไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน ผมคิดว่ามันแทบจะเหมือนกันเลย เราจึงได้ตัดสินใจว่าเราควรจะเปลี่ยนแปลงการทำงานของเรา เราก็เลยกลับไปศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลอีกครั้ง”

ศักดิ์ชัย บัวมูล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด
ศักดิ์ชัยกล่าวว่า ในอนาคต นอกจากการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นดิจิทัลแล้ว บริษัทยังมุ่งที่จะเพิ่มการนำหุ่นยนต์มาใช้ในขั้นตอนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรต่างๆ เช่น เนื้อไก่ อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่าบริษัทน่าจะต้องพัฒนาระบบอัตโนมัตินี้เองภายในบริษัท
นอกจากนี้ บริษัทยังพยายามที่จะพัฒนาให้การจัดซื้อวัตถุดิบเป็นไปได้อย่างแม่นยำมากขึ้น “เมื่อผมพูดถึงเรื่องนี้ บางทีเราอาจจะทำอะไรสักอย่างกับ AI ของฟูจิตสึ เพื่อแก้ปัญหานี้” เขากล่าว
ศักดิ์ชัยกล่าวสรุปด้วยการให้คำแนะนำกับบริษัทอื่นๆ ที่เพิ่งจะเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้
“ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะใช้เทคโนโลยีขั้นสูงหรือไม่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเลยก็ไม่สำคัญ เพราะในตอนนี้ เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถทำอะไรได้หลายๆ อย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กร” เขากล่าว “เราจำเป็นต้องเริ่มต้นก่อน แล้วเราจะเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนั้น คุณจะเห็นว่าข้อดีคืออะไรก็ต่อเมื่อคุณทำการเปลี่ยนแปลงโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแล้ว”
-
หัวหน้าผู้เผยแพร่วัฒนธรรมองค์กรของฟูจิตสึเล็งเห็นว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นดิจิทัลครั้งใหญ่เร็วๆ นี้ บนพื้นฐานของความเป็นเอกเทศในขอบเขตความรู้ทางเทคโนโลยี (Singularity on Horizon)
-
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาดของธนาคารไทยพาณิชย์กล่าวว่า บริษัทต่างๆ จะเผชิญหน้ากับ “ความคาดหวังจากมาตรฐานใหม่” ท่ามกลางความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างรุนแรง
-
ทำให้แบรนด์ของคุณมีความเป็นมนุษย์เพื่อให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ