Skip to main content

Fujitsu

English

Thailand

Archived content

NOTE: this is an archived page and the content is likely to be out of date.

กระแสในอนาคตของระบบที่จะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นดิจิตอล: การนิยามระบบคลาวด์ที่มุ่งเน้นไปที่ลูกค้าอย่างสมบูรณ์แบบ

ในปัจจุบันแนวทาง “การเน้นใช้งานระบบคลาวด์ (Cloud First)” ได้กลายมาเป็นบรรทัดฐานสำคัญและการใช้งานระบบคลาวด์สาธารณะก็กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการใช้งานระบบคลาวด์สาธารณะเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง ด้วยเหตุนี้หลายบริษัทจึงลังเลที่จะเปลี่ยนระบบมาใช้ระบบคลาวด์ บริษัทฟูจิตสึจึงมุ่งหวังที่จะแนะนำแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนผ่านระบบได้อย่างสบายใจ

ตลาดการให้บริการระบบคลาวด์สาธารณะนั้นกำลังอยู่ในช่วงที่มีการเติบโตอย่างมหาศาลเพราะเป็นบริการที่ตรงกับความต้องการของหลายบริษัทที่ต้องการใช้ทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เมื่อพวกเขาต้องการจะใช้มากกว่าการครอบครองทรัพยากรเหล่านั้นโดยตรง ในขณะเดียวกัน “การเน้นใช้งานระบบคลาวด์ (Cloud First)” ซึ่งเป็นระบบที่พิจารณาการใช้งานระบบคลาวด์ก่อนก็ได้กลายมาเป็นแนวทางพื้นฐานในการสร้างระบบ

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการใช้งานระบบคลาวด์สาธารณะเพิ่มมากขึ้น ปัญหาที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงนี้จึงปรากฏขึ้น โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่ปัญหาเรื่องความปลอดภัยและระบบคลาวด์ที่เคยมีมาตั้งแต่ในอดีต ตอนนี้ประเด็นปัญหาหลากหลายประเภทได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน

ปัญหาใหญ่ที่สุดที่บริษัทที่ใช้ระบบคลาวด์สาธารณะส่วนใหญ่ต้องเผชิญคือการที่ผู้ให้บริการระบบคลาวด์เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของระบบ ตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงเหตุผลที่ว่าทำไมประเด็นนี้จึงกลายเป็นปัญหาก็คือการที่ผู้ให้บริการมักหยุดให้บริการเพื่อทำการซ่อมบำรุงระบบตามกำหนดการของตนเอง โดยไม่พิจารณาถึงกำหนดการของทางลูกค้า แม้ว่าลูกค้าจะได้รับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับกำหนดการซ่อมบำรุงล่วงหน้าก็ตาม แต่ส่วนใหญ่ลูกค้ามักจะไม่เห็นภาพชัดเจนว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเครื่องจักรเสมือนของพวกเขาหยุดทำงาน สำหรับบริษัทต่างๆ แล้ว การหยุดทำงานของระบบอย่างไม่คาดฝันย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับการที่ระบบล้มเหลว และการหยุดชะงักที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันนี้ก็อาจเกิดขึ้นโดยไม่มีการแจ้งเตือนเมื่อใช้งานระบบคลาวด์สาธารณะ อีกปัญหาหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกันก็คือแม้ว่าจะทราบว่าจะเกิดเหตุการณ์ระบบล้มเหลวขึ้น แต่ก็ไม่มีการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเหมาะสม และส่วนมากผู้ให้บริการมักจะไม่มีการอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกในอนาคตด้วยเช่นกัน

บริษัทที่ใช้งานฟีเจอร์พิเศษของระบบคลาวด์สาธารณะนั้นจะถูก "ผูกขาด" โดยผู้ให้บริการเฉพาะราย ซึ่งการผูกขาดของผู้ให้บริการเฉพาะรายนั้นก็ถือได้ว่าเป็นปัญหาหลักเมื่อใช้งานควบคู่กับระบบภายในองค์กร ปัญหานี้ได้เริ่มเกิดขึ้นกับการใช้งานระบบคลาวด์สาธารณะแล้วเช่นกัน

ด้วยปัญหาเหล่านี้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่หลายบริษัทต่างลังเลที่จะเปลี่ยนระบบหลักของพวกเขาให้เป็นระบบคลาวด์ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการใช้งานทรัพยากร ICT จากการเป็นเจ้าของเพื่อการใช้งานไปสู่การใช้งานเพียงอย่างเดียวก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย แล้วสักวันก็จะถึงเวลาที่การวางระบบหลักไว้บนคลาวด์กลายเป็นเรื่องที่จำเป็นขึ้นมา

ถ้าเช่นนั้นต้องทำอย่างไรบริษัทจึงจะสามารถเปลี่ยนมาใช้ระบบคลาวด์ได้อย่างสบายใจ?

เลือกใช้บริการระบบคลาวด์ที่มุ่งเน้นไปที่ลูกค้า ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการใช้งานระบบคลาวด์ได้

กุญแจดอกนี้เป็นตัวเลือกหนึ่งของการให้บริการระบบคลาวด์ บริษัทจำเป็นต้องเลือกบริการที่มุ่งเน้นด้านการให้ความสำคัญกับลูกค้าหลังจากที่พิจารณารายละเอียดของงานบริการที่จะได้รับอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว ระบบ FUJITSU Cloud Service K5 (จากนี้จะเรียกว่า K5) ของฟูจิตสึนั้นมีศักยภาพที่จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับหลายๆ บริษัทเพราะเป็นบริการที่เน้นให้ความสำคัญกับลูกค้า

ฟูจิตสึได้เปิดตัว K5 ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 ในฐานะบริการระบบคลาวด์ที่ให้บริการพื้นฐานสำคัญสำหรับ “นวัตกรรมดิจิตอล”: การเปลี่ยนแปลงกระบวนการต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจและการสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ๆ ผ่านระบบดิจิตอล

คุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของ K5 นั้นคือการผสมผสาน ความรู้และเทคโนโลยีที่กว้างขวางของฟูจิตสึเข้ากับเทคโนโลยีโอเพนซอร์สใหม่ล่าสุดที่จะช่วยให้สามารถใช้งานระบบหลักในระบบคลาวด์เดี่ยวที่มีการนำมาใช้ภายในบริษัทจนถึงปัจจุบัน เช่น ระบบข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน (Systems of Record หรือ SoR) และระบบใหม่ที่จะช่วยส่งเสริมนวัตกรรมดิจิตอล (Systems of Engagement หรือ SoE) สิ่งนี้ยังช่วยสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง SoR และ SoE ได้อย่างไร้รอยเชื่อมต่อและช่วยให้บริษัทสามารถจัดการกับการเติบโตในระยะยาวได้

มาซาฮิโระ โอตะ
หัวหน้า
หน่วยงานแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิตอล
บริษัท ฟูจิตสึ จำกัด

อีกหนึ่งคุณลักษณะของ K5 คือความสามารถในการกำจัดปัญหาที่พบในระบบการให้บริการคลาวด์ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ มาซาฮิโระ โอตะ ผู้ดูแล K5 ที่ฟูจิตสึ กล่าวว่า “บริการนี้จะให้ความสำคัญแก่ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ โดยให้บริการระบบคลาวด์ที่ลูกค้าสามารถใช้งานได้อย่างเชื่อมั่น” เขายังได้อธิบายอีกว่ามี 3 ปัจจัยหลักที่ช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์การให้บริการระบบคลาวด์ของบริษัท (รูปที่ 1)

ลูกค้าสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและมั่นคง” K5 สามารถนำเสนอสิ่งนี้ได้ในหลายๆ แนวทางด้วยกัน การให้บริการนี้กำลังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบของ IT Health Check และการตรวจสอบตามมาตรฐานความปลอดภัยที่รัฐบาลของสหราชอาณาจักรได้บัญญัติขึ้น ผลิตภัณฑ์นี้ยังผ่านตามมาตรฐานของระบบข้อมูลศูนย์กลางอุตสาหกรรมการเงิน (FISC) ในเรื่องของมาตรการรักษาความปลอดภัย และฟูจิตสึวางแผนที่จะขอรับการรับรองเพิ่มเติมเพื่อการให้บริการ : Service Organization Control 2 (SOC 2) กรอบการทำงานสำหรับการรายงานการปฏิบัติตามกฎของผู้รับเหมาและการควบคุมภายในสำหรับการดำเนินธุรกิจ และ Payment Card Industry Data Security Standard (PCI DSS) มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยในระดับนานาชาติที่ช่วยปกป้องข้อมูลบัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัตรเงินสด นอกจากการต่ออินเตอร์เน็ตมาตรฐานแล้ว ยังมีระบบเชื่อมต่ออย่างเป็นส่วนตัวที่เป็นตัวเลือกสำหรับการใช้งานเครือข่ายอีกด้วย ช่วยให้บริษัทสามารถหลีกเลี่ยงการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้อย่างสมบูรณ์เมื่อเชื่อมต่อกับ K5

ปัจจัยที่สองคือการที่ “ลูกค้าสามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ไม่ผูกขาดอยู่กับผู้ขาย” ด้วยความกระตือรือร้นในการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ฟูจิตสึได้ลดการผูกขาดกับทางผู้ขายลง และเพิ่มสิทธิประโยชน์ของลูกค้าให้มากขึ้นจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของชุมชนโอเพนซอร์ส

ปัจจัยที่สามและเป็นปัจจัยสุดท้ายคือการให้ความสำคัญต่อการ “รักษาการดำเนินธุรกิจของลูกค้าให้ดำเนินต่อไปได้”

การให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจนั้นได้มาจากการใช้งานภายในองค์กร

โอตะกล่าวว่า “แนวทางการบำรุงรักษาระบบสำหรับการให้บริการระบบคลาวด์สาธารณะแบบดั้งเดิมนั้นถูกจัดทำขึ้นโดยพ้นวิสัยการควบคุมของลูกค้าอย่างสิ้นเชิง” เขาได้ระบุอีกว่าแม้ว่าผู้ใช้จะได้รับการแจ้งเตือนข้อมูลการซ่อมบำรุงทั่วไปผ่านทางอีเมลหรือสามารถตรวจดูได้จากทางแดชบอร์ด แต่ก็ยังยากที่จะทราบเกี่ยวกับเนื้อหา ระยะเวลา และผลกระทบจากการซ่อมบำรุง ในทางกลับกัน K5 จะแจ้งแก่ผู้ใช้งานล่วงหน้าด้วยข้อมูลที่ละเอียดและแม่นยำ เกี่ยวกับว่าจะมีการซ่อมบำรุงที่ส่วนใดและผลกระทบจากการซ่อมบำรุงต่อการให้บริการ และช่วงเวลาการปิดระบบที่แน่นอน K5 ยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถปรับเวลาการซ่อมบำรุงเพื่อให้เข้ากับกำหนดการทำงานของทางผู้ใช้ได้อีกด้วยหากต้องการ (รูปที่ 2) จึงกล่าวได้ว่าสามารถใช้งาน K5 ได้ตามสถานการณ์ของผู้ใช้

“การมุ่งเน้นไปที่การดำเนินธุรกิจอย่างสมบูรณ์แบบ” นั้นเป็นผลมาจากประสบการณ์จริงของทางฟูจิตสึในฐานะผู้ใช้งานระบบคลาวด์ บริษัทกำลังลดระบบภายในของบริษัทและเปลี่ยนไปเป็น K5 อย่างรวดเร็ว นี่หมายความถึง 640 ระบบที่ครอบคลุมทั้งกลุ่มบริษัทฟูจิตสึซึ่งมีการใช้งานกว่า 13,000 เซิร์ฟเวอร์ด้วยการโยกย้ายทรัพยากรเหล่านี้ในระยะเวลา 5 ปี บริษัทคาดว่าจะสามารถลดต้นทุนการเป็นเจ้าของลงได้ถึงสามหมื่นห้าพันล้านเยน“K5 พร้อมจะให้บริการในระดับที่ช่วงเวลาที่ต้องปิดระบบนั้นเหลือเพียงแค่ไม่กี่นาที และเรากำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อระบบที่มีการใช้งานที่สำคัญซึ่งต้องการระยะเวลาในการปิดระบบเป็นศูนย์นั้นก็จะยังสามารถทงานบนบริการนี้ได้”โอตะยังได้กล่าวอีกว่า "บริการระบบคลาวด์ที่สามารถทำเช่นนี้ได้ก็มีเพียง K5 เท่านั้น"

การใช้งานภายในในลักษณะนี้มีความหมายที่ยิ่งใหญ่มาก ในการพิสูจน์ว่าบริษัทต่างๆ ก็สามารถใช้งาน K5 ได้อย่างปลอดภัยและสบายใจ หากว่าบริษัทขนาดใหญ่อย่างฟูจิตสึยังสามารถโยกย้ายระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมดไปยัง K5 ได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรในการใช้งานระบบของธุรกิจอื่นๆ บนแพลตฟอร์มนี้ การให้บริการระบบคลาวด์ชนิดนี้ได้ลบล้างความคิดดั้งเดิมที่กล่าวว่า ระบบหลักที่มีอยู่แล้วต้องเก็บไว้ภายในองค์กร ส่วนระบบที่เป็นนวัตกรรมดิจิตอลใหม่ต้องอยู่บนคลาวด์ลงได้

เช่นนั้นแล้ว บริษัทต่างๆ จะสามารถเคลื่อนย้ายระบบของบริษัทไปยังคลาวด์ได้อย่างไร?

รูปที่1: K5=ระบบคลาวด์ที่มุ่งเน้นที่ลูกค้า การให้บริการ K5 นั้นได้รับการสนับสนุนจาก 3 ประเด็นหลักด้วยกัน ช่วยกำจัดปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบคลาวด์ดั้งเดิมได้ และยังช่วยสนับสนุนการย้ายระบบหลักมาไว้ที่คลาวด์อีกด้วย

ระบบขององค์กรมุ่งไปยังสองโลกที่แตกต่างกัน

โอตะอธิบายว่าการเคลื่อนย้ายระบบขององค์กรมายังคลาวด์นั้นยังนำไปสู่หนึ่งในสองเป้าหมายสูงสุด อันดับแรกคือ “โลกที่นำเสนอผลิตภัณฑ์พร้อมการบริการ (servitized world)” เช่น SaaS อันดับที่สองคือ “โลกดิจิตอลที่วิวัฒน์ได้และยั่งยืน”(รูปที่ 3)

ระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งถูกนำมาใช้งานแบบเป็นแพ็คเกจจะถูกแทนที่ด้วย SaaS และสุดท้ายจะมีการบูรณาการเป็นโลกที่นำเสนอผลิตภัณฑ์พร้อมการบริการ แม้กระทั่งระบบติดตั้งภายในขององค์กรซึ่งสามารถใช้งานได้รอบด้านในระดับสูงก็จะถูกเคลื่อนย้ายไปยัง SaaS ทีละรายการ เพราะประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าที่จะใช้บริการที่มีให้อยู่แล้ว แทนที่จะต้องทำการพัฒนาระบบภายในที่จะใช้งานได้น้อยลงต่อไปเรื่อยๆ

บริษัทจะดำเนินการพัฒนาระบบภายในที่เหมาะสมและระบบอื่นๆ ที่ช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม วิธีการในการสร้างระบบจะเปลี่ยนไปอย่างมาก แทนที่จะสร้างแอปพลิเคชั่นแบบเอกเทศ (เป็นอิสระและอยู่ในตัวเอง) การพัฒนาจะเปลี่ยนไปเป็นเทคนิคที่รวมบริการต่างๆ ไว้ด้วยกัน (ไมโครเซอร์วิส) และให้บริการในฐานะของ PaaS สิ่งนี้จะช่วยให้การพัฒนาเป็นไปได้อย่างยืดหยุ่นและรวดเร็ว และช่วยให้ปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปของธุรกิจได้ง่ายขึ้น ทำให้การเชื่อมต่อ SoR และ SoE ง่ายขึ้น โลกที่ถูกทำให้เป็นดิจิตอลและมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนานี้ขึ้น

“การทำให้ทันสมัยมีอยู่ 2 แนวทางด้วยกัน” โอตะอธิบาย หนึ่งคือการเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย IaaS และทำให้ PaaS ทันสมัยไปพร้อมกัน ส่วนอีกอย่างหนึ่งจะเกี่ยวพันกับ หนึ่ง การใช้ IaaS เพื่อเคลื่อนย้ายข้อมูลไปยังคลาวด์และเมื่อการเคลื่อนย้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เคลื่อนย้ายไปยังระบบที่สร้างขึ้นโดยใช้ PaaS “การมุ่งทำให้ทันสมัยในครั้งเดียวโดยใช้เงินที่ได้จากการเคลื่อนย้ายไปยังคลาวด์เป็นการใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและง่ายต่อการหาเงินทุน” โอตะกล่าว “ในทางกลับกัน การเคลื่อนย้ายข้อมูลแบบค่อยเป็นค่อยไปนั้นมีความเสี่ยงน้อยกว่า มันอาจจะตัดสินใจได้ยากว่าต้องการดำเนินไปในทิศทางใด แต่สุดท้ายผมคิดว่าลูกค้าต้องตัดสินใจตามนโยบายของตน”

ด้วยเหตุนี้ K5 จึงนำเสนอทั้ง IaaS และ PaaS และนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมฟูจิตสึถึงได้เพิ่มจำนวนการบริการที่ใช้ PaaS ฟูจิตสึได้ทำงานเพื่อสร้างระบบนิเวศที่เชื่อมโยง SaaS และโลกดิจิตอลเข้าด้วยกัน โดยสร้างความเป็นไปได้ที่จะย้ายทั้ง SoR และ SoE ไปไว้ที่คลาวด์ และตอบสนองต่อความต้องการของบริษัทซอฟต์แวร์ที่ต้องการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ของพวกเขาไปไว้ที่นั่น

รูปที่ 2: การให้บริการเชิงปฏิบัติการของ K5 นั้นเน้นที่การดำเนินธุรกิจ ลูกค้าจะได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้าด้วยข้อมูลที่ลงรายละเอียดและความแม่นยำเกี่ยวกับกำหนดการซ่อมบำรุงและการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาซ่อมบำรุงก็สามารถทำได้เช่นกัน การทำงานของระบบนั้นสามารถรองรับตามกำหนดการของลูกค้าได้

การให้บริการระบบคลาวด์แบบ K5 นั้นสามารถสร้างขึ้นโดยบริษัทที่เข้าใจความเป็นจริงของธุรกิจเท่านั้น และฟูจิตสึก็คาดหวังว่าผลงานในส่วนนี้จะส่งผลในการช่วยเพิ่มการเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์มากขึ้นในอนาคต

ในขณะเดียวกัน แนวคิดของ “ระบบคลาวด์ที่มุ่งเน้นที่ลูกค้า” นั้น จะไม่เปลี่ยนไปตามระบบใหม่ (SoE) ที่ส่งเสริมนวัตกรรมดิจิตอลและจะไม่ถูกผูกขาดไว้ด้วยระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดเมนนี้จะมุ่งหน้าไปสู่การเป็นระบบที่นำเสนอผลิตภัณฑ์พร้อมการบริการซึ่งจะสื่อสารโดยตรงกับค่านิยมของลูกค้า ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างการให้บริการและผู้คนก็ได้มีการเปลี่ยนผ่านจากการมุ่งเน้นที่การบริการไปสู่การมุ่งเน้นที่ผู้คน ที่มากไปกว่านั้นคือเราได้เดินหน้าไปไกลกว่ายุคสมัยด้วยกรอบการดำเนินการแบบตาข่ายที่จะเชื่อมโยงการให้บริการและผู้คนเข้าไว้ด้วยกัน

ฟูจิตสึ พร้อมด้วยวิสัยทัศน์ของผลงานนวัตกรรมที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human Centric Innovation) นั้นคาดหวังที่จะจับคู่ข้อมูลบุคคลและการให้บริการคลาวด์อื่นๆ ผ่านทาง K5 ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อใหม่ๆ ขึ้นในยุคสมัยของเครือข่ายโยงใยที่กำลังจะมาถึง

รูปที่ 3: การเคลื่อนย้ายข้อมูลและวิวัฒนาการของระบบองค์กร K5 ช่วยให้ระบบขององค์กรมีวิวัฒนาการ ระบบเหล่านี้จะรวมกันเป็นโลกที่มีการให้บริการที่มาพร้อมผลิตภัณฑ์อย่าง SaaS และบูรณาการกลายเป็นโลกดิจิตอลผ่านการทำให้เป็นสมัยใหม่.

*เนื้อหานี้ลงใน TechTarget Japan เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017